เมนู

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ 7


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 7 พึงทราบดังนี้ :-
ข้อว่า ภุญฺชิสฺสามีติ ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มี
ความว่า ทุกกฏนี้ ชื่อว่า ปโยคทุกกฏ. เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เป็นทุกกฏ
เพราะการรับประเคนอย่างเดียวเท่านั้น. ยังเป็นทุกกฏ ทุก ๆ ประโยคอีก ใน
การรับประเคนแล้วนำมาจากที่อื่นก็ดี ในการตากให้แห้งก็ดี ในการเตรียมเตา
เพื่อต้องการคั่วกินในวันมีฝนตกพรำก็ดี ในการจัดแจงกระเบื้องก็ดี ในการ
ตระเตรียมทัพพีก็ดี ในการนำฟืนมาก่อไฟก็ดี ในการใส่ข้าวเปลือกลงบน
กระเบื้องก็ดี ในการคั่วด้วยทัพพีก็ดี ในการเตรียมครกและสากเป็นต้นเพื่อจะ
ตำก็ดี ในกิจ มีการตำฝัดและซาว เป็นต้นก็ดี จนถึงเปิบเข้าปากแล้วบดเคี้ยว
ด้วยฟันเพื่อจะกลืนกิน. ในเวลากลืนกิน เป็นปาจิตตีย์มากตัวตามจำนวนคำกลืน
และในสิกขาบทนี้ การขอและการฉัน จัดเป็นประมาณ. เพราะฉะนั้นแม้
ภิกษุณีขอเองใช้ภิกษุณีอื่นให้ทำการคั่วการตำและการหุงต้มแล้วฉันก็เป็นอาบัติ
ถึงใช้ภิกษุณีอื่นให้ขอแล้วกระทำการคั่วฉันเองเป็นต้นก็อาบัติแล.
แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า ภิกษุณีขอข้าวเปลือกสดธรรมดานี้ แม้
กะมารดามาฉัน ก็เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน ข้าวเปลือกสดที่ได้มาโดยมิได้ออก
ปากขอ เมื่อทำการคั่วเป็นต้นเอง หรือใช้ผู้อื่นให้ทำแล้วฉัน เป็นทุกกฏ.
ข้าวเปลือกสดที่ภิกษุณีอื่นได้มาด้วยการออกปากขอ แม้เมื่อทำการคั่วเป็นต้นเอง
หรือใช้ให้ภิกษุณีนั้นทำ หรือใช้ให้ภิกษุณีอื่นทำแล้วฉัน ก็เป็นทุกกฏเหมือน
กัน ท่านยังได้กล่าวไว้อีกว่า ข้าวเปลือกสดที่ภิกษุณีอื่นได้มาด้วยการออกปาก
ขอ ถ้าภิกษุณีทำการคั่วเองเป็นต้นซึ่งข้าวเปลือกสดนั้นแล้วฉัน เป็นปาจิตตีย์

เหมือนกัน. แต่เมื่อให้ผู้อื่นทำการคั่วเป็นต้นแล้วฉัน เป็นทุกกฏ. คำในมหา
ปัจจรีนั้น ผิดทั้งข้างต้นทั้งข้างปลาย. ที่จริงไม่มีความแปลกกันในการทำเอง
หรือในการใช้ให้ทำ ซึ่งกิจมีการคั่วเป็นต้นนั้น. แต่ในมหาอรรถกถาท่านกล่าว
ไว้โดยไม่แปลกกันว่า เป็นทุกกฏแก่ภิกษุณีผู้ฉันข้าวเปลือกสดที่ภิกษุณีอื่นออก
ปากขอมา
บทว่า อาพาธปจฺจยา ความว่า ไม่เป็นอาบัติ เพราะออกปากขอ
ข้าวเปลือก เพื่อต้องการทำการนึ่งตัวเป็นต้น (การเข้ากระโจม). ท่านกล่าวไว้
ในมหาปัจจรีว่า ก็การรับเอาข้าวเปลือกที่ได้มาด้วยการไม่ได้ออกปากขอ เพื่อ
ประโยชน์แก่นวกรรม ควรอยู่.
สองบทว่า อปรณฺณํ วิญฺญาเปติ มีความว่า เว้นธัญญชาต 7
ชนิดเสีย ภิกษุณีขออปรัณชาติ มีถั่วเขียวและถั่วเหลืองเป็นต้นก็ดี พืชผลมี
น้ำเต้าและฟักเขียวเป็นต้นก็ดี วัตถุอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ในที่แห่งญาติและ
คนปวารณา ไม่เป็นอาบัติ. แต่จะขอข้าวเปลือกสดแม้ในที่แห่งญาติและคน
ปวารณาไม่ควร. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 4 เกิดขึ้นทางกาย 1 ทางวาจา 1 ทางกาย
กับจิต 1 ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ฉะนี้แล.
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ 7 จบ

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 8


เรื่องพรหมณ์คนหนึ่ง


[175] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์
คนหนึ่งเป็นข้าราชการ ถูกปลดออกจากราชการแล้วคิดว่าจักทูลขอรับพระ-
ราชทานตำแหน่งเดิมคืน จึงสนานเกล้าแล้วเดินผ่านที่พำนักของภิกษุณีไปสู่
ราชตระกูล ภิกษุณีรูปหนึ่งถ่ายวัจจะลงในหม้อ แล้วเททิ้งออกนอกฝา ราดลง
บนศีรษะของพราหมณ์นั้น ดังนั้น พราหมณ์จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ภิกษุณีโล้นเหล่านี้ไม่ใช่สมณะ ไม่มีสมบัติ ไฉนจึงได้เทหม้อคูถลงบน
ศีรษะเล่า เราจักเผาที่พำนักของภิกษุณีเหล่านี้เสีย ดังนั้น จึงถือคบเพลิงเข้าไป
สู่ที่พำนักภิกษุณี อุบาสกคนหนึ่งออกมาจากสำนักภิกษุณี เห็นพราหมณ์นั้น
กำลังถือคบเพลิงผ่านเข้าไปสู่ที่พำนัก จึงถามพราหมณ์ว่า ท่านผู้เจริญ เหตุไร
ท่านถือคบเพลิงเข้าไปสู่ที่พำนักภิกษุณี.
พราหมณ์ตอบว่า ท่านผู้เจริญ เพราะภิกษุณีโล้นเหล่านี้เป็นสตรีไม่มี
สมบัติ เทหม้อคูถลงบนศีรษะของเรา ๆ จึงจักเผาสำนักของภิกษุณีเหล่านี้เสีย.
อุบาสกชี้แจงว่า ไปเถิด ท่านผู้เจริญ นั่นเป็นมงคล ท่านจักได้
ทรัพย์ 1,000 ตำลึง และตำแหน่งเดิมคืน.
ฝ่ายพราหมณ์นั้นสนานเกล้าแล้วไปสู่ราชตระกูล ได้ทรัพย์พระราชทาน
1,000 ตำลึง และตำแหน่งเดิมนั้นคืน อุบาสกนั้นจึงเข้าไปสู่ที่พำนักภิกษุณี
แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลายแล้วขู่สำทับ.